รูปบูชาหลวงพ่อ วัดไร่ขิง พร้อมกรอบไม้ลงสีเก่า
เขียนโดย : ชัช หนุมาน วันที่ลง : 2018-03-06 15:53 เยี่ยมชมร้านค้า
ชื่อพระ/สินค้า | รูปบูชาหลวงพ่อ วัดไร่ขิง พร้อมกรอบไม้ลงสีเก่า |
หมวด | |
ประเภท |
โทรถาม |
ราคา | |
รายละเอียด | ประวัติหลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดไร่ขิง(มงคลจินดาราม) จ.นครปฐม หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง (มงคลจินดาราม) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้ว สูง 4 ศอก 16 นิ้ว ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี 5 ชั้น มีผ้าทิพย์ปูทอดลงมา ผินพระพักตร์สู่ทิศเหนือ องค์พระงดงาม เป็นการผสมผสานงานพุทธศิลป์ 3 สมัย คือ เชียงแสน อู่ทอง และสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานใครสร้างขึ้นเมื่อไหร่ จากหนังสือประวัติของวัด ระบุว่า เรื่องราวของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งไปเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ตั้งแต่ครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระพุฒาจารย์นั้น พื้นเพของท่านเป็นชาวนครชัยศรี เล่ากันเป็นสองนัยว่าท่านเป็นผู้สร้างวัดไร่ขิง เมื่อปี 2394 แล้วอาราธนาพระพุทธรูปจากพระนครศรีอยุธยามาเป็นพระประธาน กับอีกความหนึ่งว่า วัดไร่ขิงเดิมมีพระประธานอยู่แล้วแต่องค์เล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงบอกให้ไปนำพระพุทธรูปจากวัดของท่าน ซึ่งผู้คนจากวัดไร่ขิงก็พากันขึ้นไปรับ เชิญลงแพไม้ไผ่ล่องลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าแม่น้ำท่าจีนจนถึงวัด ก่อนอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันสงกรานต์ในปีนั้นพอดี เล่ากันว่า ขณะที่อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากน้ำสู่ปะรำพิธี เกิดความมหัศจรรย์ แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป ความร้อนระอุในวันสงกรานต์กลางเดือนห้า บังเกิดมีเมฆดำทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนองก้องในนภากาศ บันดาลให้ฝนโปรยลงมา ทุกคนในที่นั้นเกิดความยินดี พากันอธิษฐานจิต "ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลทำให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร" จึงถือเป็นวันสำคัญ จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง สืบต่อมาถึงทุกวันนี้ เรื่องราวความเป็นมาของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับน้ำอยู่ตามสมควร ในประวัติพระพุทธรูปหลายสำนวนก็นับท่านรวมอยู่ในพระพุทธรูปห้าองค์พี่น้องที่ลอยน้ำมาจากทางเหนือ ประกอบด้วย หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม บางแห่งก็เพิ่มหลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี และหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ และขึ้นประดิษฐาน ณ ที่ต่างๆ กันด้วย หลวงพ่อวัดไร่ขิง พระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดไร่ขิง พระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีเสียงเล่าลือกันจากปากต่อปากของประชาชนทั่วไป จากเหนือสู่ใต้ว่าหลวงพ่อมีอิทธิฤทธิ์และอภินิหารต่างๆ มากมายเป็นอเนกประการ แต่ละคนที่มีศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีเรื่องที่น่าอัศจรรย์ปรากฏแก่ตนเองเกือบทุกคน พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสไร่ขิง ได้นำอภินิหารและอิทธิฤทธิ์บางส่วนจากผู้ศรัทธาหลวงพ่อ มาบันทึกไว้ในหนังสือประวัติวัดและหลวงพ่อวัดไร่ขิง อาทิ - หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีอภินิหารปิดทองไม่ติด ทั้งที่ในแต่ละปีมีประชาชนมาปิดทองหลวงพ่อเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน - หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหาร ในการป้องกันสิ่งต่างๆ ตามความรู้สึกของแต่ละคนที่ตั้งใจปรารถนา - น้ำมันและน้ำมนต์ของหลวงพ่อ รักษาโรคภัยต่างๆ ได้สมใจปรารถนา - หลวงพ่อวัดไร่ขิง ช่วยให้รอดพ้นจากความตาย เพียงแค่ตั้งจิตถึงหลวงพ่อ - หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปิดตาขโมยได้ ป้องกันไฟไหม้ - หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นทุกอย่างได้ตามแรงอธิษฐานของคนอยากให้เป็น หลวงพ่อวัดไร่ขิง ประดิษฐานเป็นที่เคารพกราบไหว้อยู่ ณ วัดไร่ขิง มาเป็นเวลานานเป็นที่รู้จักเรียกขานในนามหลวงพ่อวัดไร่ขิง คนในท้องถิ่นต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และมักกราบไหว้บนบานเมื่อมีทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ สำหรับคาถาบูชาหลวงพ่อวัดไร่ขิง ตั้งนะโม 3 จบ "กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา มะเหสักขายะ เทวะตายะ อะธิปาถิตัง อิทธิปาฏิหาริกัง มังคะละจินตารามพุทธะปะฏิมากะรัง ปูชามิหัง ยาวะชีวัญจะ สุกัมมิโก สุขะปัตถิตายะ" ชาวบ้านเชื่อศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ว่าสามารถปัดเป่าทุกข์โรคภัยไข้เจ็บทั้งปวงได้อย่างอัศจรรย์ ทั้งยังอำนวยโชคลาภให้แก่ผู้ที่เดินทางมาสักการะ โดยเฉพาะในงานประจำปี ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 มีมหรสพ 9 วัน 9 คืน พุทธศาสนิกชนแห่นมัสการสักการะ และบนบานศาลกล่าวด้วย "ว่าวจุฬา" เชื่อว่าหลวงพ่อชอบเป็นพิเศษ รองลงมา คือ ประทัดและละครรำ คอลัมน์ ไหว้พระ76จังหวัด .(ขอขอบคุณข้อมูล จากข่าวสด). ...ขนาดวัดกรอบ 13x17 นิ้ว เก่าไม่ทราบออกปีไหน ของจริงสวยชัด มาพร้อมกรอบไม้ลงสีเก่าๆมากอายุหลายสิบปี |
ติดต่อร้านค้า
ที่อยู่ | ปริมณฑล ฝั่งนครปฐม |
โทร | 085-378-3943 |
อีเมล | |
Line ID | |
ธนาคาร |